สมเด็จพระนารายณ์มหาราช


สมเด็จพระนารายณ์มหาราช





พระราชประวัติ
          สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระมหากษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา ระหว่าง พ.ศ.2123 - 2198 ส่วนพระราชมารดานั้น เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระราชสมภพวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ.2175 ทำพระราชพิธี เบญจเพศในเดือนยี่ พ.ศ. 2199 และเหตุที่มีพระนามว่า "นารายณ์" นั้น มีอ้างไว้ในพระราชพงศาวดารว่า เมื่อพระราชเทวีประสูตินั้น พระญาติวงศ์เหลือบเห็นเป็นสี่กร สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราชบิดาจึงพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชกุมาร" แต่ในหนังสือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" และ "คำให้การของขุนหลวงหาวัด" ว่า เมื่อเพลิงไหม้พระที่นั่งมังคลาภิเษก
         สมเด็จพระนารายณ์ยังเป็นพระราชกุมารอยู่ เสด็จขึ้นไปดับเพลิง บรรดาคนทั้งปวงเห็นเป็นสี่กร ครั้นขึ้นเสวยราชสมบัติ ข้าราชการ ทั้งปวงจึงถวายพระนามว่า พระนารายณ์ สมเด็จพระนารายณ์มีพระอนุชาร่วมพระชนกหลายองค์ แต่ต่างพระชนนีกัน คือ เจ้าฟ้าศรีสุวรรณ ซึ่งเรียกกันว่า พระราชกัลยา เมื่อทรงพระเยาว์สมเด็จพระนารายณ์ได้รับการศึกษาจากพระโหราธิบดี และทรงใฝ่พระทัยศึกษาจาก พระอาจารย์พรหม พระพิมลธรรม และจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
         เมื่อขึ้นเสวยราชย์ พ.ศ.2199 พระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 3" เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 2 ค่ำ เดือน 12 จุลศักราช 1018 ปีวอก ตรงกับวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2199 พระชนมายุ 25 พรรษา ประทับเสวยราชย์ ณ กรุงศรีอยุธยา 10 ปี จึงโปรดให้สร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งที่สอง ในปี พ.ศ. 2209 พระองค์เสด็จประทับที่ลพบุรีปีหนึ่ง ๆ เป็นเวลาถึง 8-9 เดือน พระองค์สวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231 รวมดำรงราชสมบัตินาน 32 ปี สิริรวมพระชนมายุ 56 พรรษา มี พระราชธิดาพระองค์เดียวคือ กรมหลวงโยธาเทพ

พระราชกรณียกิจ

1. การทหาร
          ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน ส่วนศึกกับพม่าแม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนือง กิจการของกองทัพนับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ สมเด็จพระนารายณ์เองก็ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติสำหรับกิจการของกองทัพด้วย

2. การต่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมถึงเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งที่รับราชการตำแหน่งสูงถึงที่ สมหุนายกขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ถึง ๔ ครั้งด้วยกัน ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา และสยามมากที่สุดในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
          นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย

 3. วรรณกรรม
          ชาวสยามวาดโดยทูตชาวฝรั่งเศส ลาลูแบร์วรรณกรรมที่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ เช่น
          สมุทรโฆษคำฉันท์ ส่วนตอนต้นเชื่อกันว่าพระมหาราชครูเป็นผู้แต่งแต่ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน สมเด็จพระนารายณ์จึงพระราชนิพนธ์ต่อ โดยเริ่มที่ตอน พิศพระกุฎีอาศรมสถานตระกาลกล ไปจนถึง ตนกูตายก็จะตายผู้เดียวใครจะแลดู โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นผลงานของขุนเทพกวี สันนิษฐานว่าแต่งในคราวสมโภชขึ้นระวางเจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๓ เป็นต้น ทั้งยังส่งเสริมงานงานกวี ทำให้มีหนังสื่อเรื่องสำคัญๆ ในรัชสมัยนี้เป็นจำนวนไม่น้อย เช่น โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของหลวงศรีมโหสถ หนังสือจินดามณีของพระโหราธิบดี (จัดเป็นตำราเรียนเล่มแรกของประเทศไทย) และอนิรุทธคำฉันท์ เป็นต้น



อ้างอิง