สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(อู่ทอง)
พระราชประวัติ
จดหมายเหตุโหรระบุว่าพระเจ้าอู่ทองรามาธิบดีเสด็จพระราชสมภพวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จ.ศ. 676 (ตรงกับปี
พ.ศ. 1857) ได้ทรงสถาปนาเมืองหลวงขึ้นในบริเวณที่หนองโสนเมื่อ
จ.ศ. 712 ปีขาล โทศก วันศุกร์ขึ้น 6 ค่ำ
เดือน 5 เวลา 3 นาฬิกา 9 บาท ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 เมื่อครองราชย์ได้รับเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ถึงปีระกา พ.ศ. 1912 เสด็จสวรรคต อยู่ในราชสมบัติ 20
ปี
แต่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าพระองค์พระราชสมภพที่ไหน
และมาจากเมืองไหน เอกสารทางประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศขัดแย้งกัน
โดยมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของพระเจ้าอู่ทองสรุปได้ดังนี้
แนวความคิดที่ 1
: จดหมายเหตุลาลูแบร์ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ ระบุว่าพระเจ้าอู่ทองอพยพมาจากเชียงแสน
แนวความคิดที่ 2
: จดหมายเหตุวันวลิตระบุว่าทรงอพยพมาจากเมืองเพชรบุรี
แนวความคิดที่ 3
: ชินกาลมาลินีและพระราชพงศาวดาร
ฉบับพระราชหัตถเลขา ว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากละโว้
ตามหลักฐานและโบราณคดี
ทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของสมเด็จพระรามาธิบดีที่
1
ในแนวคิดที่ 4 5 และ 6 สามารถผนวกรวมกันได้
กล่าวคือ เมื่อพิจารณาตำนานทั้งหลายแล้ว เจ้าชายวรเชษฐ์
เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมราชา กษัตริย์แห่งอาณาจักรละโว้ (แนวความคิดที่ 6) ต่อมาพระราชชนกโปรดให้ไปครองเมืองพริบพรี (แนวความคิดที่
4) และหลังจากพระราชชนกเสด็จสวรรคตแล้ว
ทรงกลับมาครองเมืองอโยธยา (แนวความคิดที่ 5) จากนั้นจึงเกิดโรคระบาด
จึงทรงย้ายที่ตั้งเมืองมายังตำแหน่งปัจจุบัน
พระราชกรณียกิจ
1.
การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อวันศุกร์
ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712
ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แล้วโปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปครองเมืองสุพรรณบุรี
ส่วนพระราเมศวร รัชทายาทให้ไปครองเมืองลพบุรี
2.
การสงครามกับเขมร
ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระองค์ทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย แม้กระทั่ง ขอม ซึ่งก็เป็นมาด้วยดีจนกระทั่งกษัตริย์ขอมสวรรคต
พระราชโอรสนาม พระบรมลำพงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ ซึ่งพระบรมลำพงศ์ก็แปรพักตร์ไม่เป็นไมตรีดังแต่ก่อน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จึงให้สมเด็จพระราเมศวรยกทัพไปตีกัมพูชา
และให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ทรงยกทัพไปช่วย จึงสามารถตีเมืองนครธมแตกได้ พระบรมลำพงศ์สวรรคตในศึกครั้งนี้
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 จึงแต่งตั้ง ปาสัต พระราชโอรสของพระบรมลำพงศ์เป็นกษัตริย์ขอม
3.
ตรากฎหมาย
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ทรงประกาศใช้กฎหมายถึง 10 ฉบับ
ในรัชสมัยของพระองค์ ได้แก่
-
พระราชบัญญัติลักษณะพยาน
-
พระราชบัญญัติลักษณะอาญาหลวง
-
พระราชบัญญัติลักษณะรับฟ้อง
-
พระราชบัญญัติลักษณะลักพา
-
พระราชบัญญัติลักษณะอาญาราษฎร์
-
พระราชบัญญัติลักษณ์โจร
-
พระราชบัญญัติเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน
-
พระราชบัญญัติลักษณะผัวเมีย
-
พระราชบัญญัติลักษณะโจรว่าด้วยโจร
ในประวัติศาสตร์บางแหล่งบอกว่ามีมากกว่านี้
แต่เท่าที่หาหลักฐานได้ มีเพียงเท่านี้เท่านั้น
4.
การศาสนา
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างวัดต่าง ๆ
เช่น วัดพุทไธศวรรย์ (สร้างปี พ.ศ. 1876) วัดป่าแก้ว (สร้างปี พ.ศ. 1900) และวัดพระราม (สร้างปี
พ.ศ. 1912)
5.
การสงครามกับสุโขทัย
รัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นคาบเกี่บวกับรัชสมัยของ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) แห่งกรุงสุโขทัย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่สุโขทัยมิอาจต้านทานความแข็งแกร่งของอยุธยาได้
แม้ว่าพระมหาธรรมราชาลิไท จะเสด็จไปประทับที่สองแคว (พิษณุโลก)
เพื่อเตรียมรับศึกอยุธยาแล้วก็ตาม แต่สุดท้ายพระมหาธรรมราชาลิไทก็ได้เจรจาประนีประนอมยอมให้กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีคู่กับสุโขทัย
และทั้งสองนครนี้ก็เป็นไมตรีต่อกันมาจนตลอดรัชกาลของพระองค์
6.การค้าขาย และสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ
ในด้านไมตรีกับต่างประเทศในสมัยเมื่อสร้างกรุงศรีอยุธยานั้น ฝรั่งกับญี่ปุ่นยังไม่มีมาค้าขาย
แต่การไปมาค้าขายกับเมืองจีน, แขก, จาม, ชวา, มลายู ตลอดจนอินเดีย, เปอร์เซีย และ ลังกานั้นไปถึงกันมานานแล้ว
สำหรับการค้าขายกับจีนนั้น
ราชวงศ์อู่ทองของไทย ตรงกับราชวงศ์หมิงของจีน พระเจ้าหงอู่ แห่งราชวงศ์หมิงเมื่อทราบว่ากรุงศรีอยุธยาตั้งเป็นอิสรภาพก็แต่งให้ หลุย จงจุ่น เป็นราชทูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีถึงกรุงศรีอยุธยา
พระองค์จึงแต่งให้ราชทูตออกไปเมืองจีนพร้อมกับราชทูตจีน
เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับจีนในคราวนั้นด้วย