สมเด็จพระสุริโยทัย


สมเด็จพระสุริโยทัย




พระราชประวัติ
          พระราชประวัติของสมเด็จพระสุริโยทัยยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัย ซึ่งดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง ๗ เดือน เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๑ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และพระมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่า-รามัญเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนาน - นามว่า "วัดสบสวรรค์" (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์)

พระราชกรณียกิจ
1.ด้านความมั่นคง
          ใน พ.ศ. ๒๐๙๑ หลังจากที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานนัก พรเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ทราบข่าวการผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ จึงคิดจะเข้ามาโจมตี เพราะคิดว่าทางกรุงศรีอยุธยาคงยังไม่ทันตั้งตัว และกองทัพคงไม่เข้มแข็งพอ พระเจ้าหงสาวดีตะเบ็งชะเวตี้ได้คุมกำลังพลประมาณ ๓แสนคน ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์
          เมื่อเห็นพม่ายกทัพใหญ่เข้ามา สมเด็จพระมหมาจักรพรรดิ์ได้ออกไปตั้งทัพรอข้าศึกที่ทุ่งภู่เขาทองและด้วยความเป็นห่วงพระสวามีและรู้ว่าศึกครั้งนี้คงใหญ่หลวงนักเพราะทางฝ่ายพม่ามีกำลังมากกว่า สมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงปลอมพระองค์เป็นชายโดยมีพระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสตามเสด็จไปในกองทัพครั้งนี้ด้วย พระเจ้าแปรแม่ทัพฝ่ายพม่าซึ่งตั้งค่ายอยู่ที่ทุ่งมะขามหย่องได้ล่อให้กองทัพของไทยเข้ามาในวงล้อมแล้วซุ่มโจมตีจนกองทัพไทยแตกกระเจิงไม่เป็นขบวน ในขณะเดียวกัน พระเจ้าแปรเห็นว่ากำลังได้เปรียบ จึงไสช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์อย่างกระชั้นชิด สมเด็จพระศรีสุริโยทัยเห็นพระสวามีเสียทีแก่ข้าศึกเกรงว่าพระสวามีจะได้รับอันตราย ด้วยพระน้ำทัยที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ และด้วยความรักจึงรีบไสช้างพระที่นั่งเข้าไปขวางศัตรูอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะเดียวกับที่พระเจ้าแปรใช้พระแสงของ้าวฟันถูกพระอังสะขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง
          พระราเมศวรและพระมหินทราธิราชพระราชโอรสได้ฝ่าวงล้อมของทหารพม่าเข้าไป ช่วยกันนำพระศพของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ออกจากสนามรบกลับสู่พระนคร แล้วอัญเชิญพระศพไปไว้ที่ตำบลสวนหลวง เขตวัดสบสวรรค์ซึ่งอยู่ในเขตพระราชวังหลัง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย อย่างสมเกียรติสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เสียพระทัยมาก จึงโปรด ฯ ให้ จัดสร้างเจดีย์ศรีสุริโยทัยซึ่งเป็นพระเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสององค์ใหญ่ขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมแห่งความกล้าหาญและความจงรักภักดี ณ ตรงที่พระราชทานเพลิงศพ ในพระเจดีย์แห่งนี้ได้บรรจุพระอัฐิของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ไว้





อ้างอิง