สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระราชประวัติ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระราชสมภพที่ทุ่งพระอุทัย หรือในปัจจุบันเรียกว่า ทุ่งหันตรา
โดยเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
จะยกกองทัพลงไปตีเมืองพระนครหลวง (นครธม) นั้น
ได้รวมพลและตั้งพลับพลาเพื่อประกอบพิธีกรรมตัดไม้ข่มนามที่ทุ่งพระอุทัย ขณะนั้นพระอัครชายาซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 กษัตริย์แห่งพระราชวงศ์พระร่วง กำลังทรงพระครรภ์อยู่ ได้ออกไปส่งเสด็จ
ได้ประสูติสมเด็จพระบรมไตรนาถที่พลับพลานั้น เมื่อปีกุน จุลศักราช 797 พ.ศ. 1974 ซึ่งในยวนพ่ายโคลงดั้น ระบุว่า
แถลงปางพระมาตรไท้ สมภพ ท่านนา แดนด่ำบลพระอุทัย ทุ่งกว้าง
ทรงเจริญพระชันษาที่เมืองพิษณุโลก
พระองค์ทรงครองราชย์ 40 ปีเป็นเวลานานที่สุดในบรรดาพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ
แห่งอาณากรุงศรีอยุธยา โดยเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และก็ยังเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระอินทราชา มีพระราชมารดาเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง พระนามมีความหมายถึง "พระพุทธเจ้า" หรือ "พระอิศวร"
มีผู้ที่เข้าใจว่าคงเป็นพระสหายมาตั้งแต่วัยเยาว์ชื่อ "ยุทธิษเฐียร" ซึ่งตอนหลังกลายมาเป็นผู้ชักนำศึกเข้ามา หลังการขึ้นครองราชย์แล้ว
ก็เสด็จมาประทับที่อยุธยาในช่วงแรกของการครองราชย์
อีกครึ่งหนึ่งเสด็จมาประทับที่พิษณุโลก
เชื่อว่าคงเป็นไปเพื่อการควบคุมดูแลหัวเมืองทางด้านเหนือ และคานอำนาจของอาณาจักรทางเหนือ
คือ อาณาจักรล้านนา ซึ่งกำลังมีความเข้มแข็งและต้องการแผ่อำนาจลงมาทางใต้ ในยุคของพระเจ้าติโลกราช
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต
เมื่อปี พ.ศ. 2031 เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ทรงครองราชย์ได้ 40 ปี ยาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา
และเป็นลำดับ 3 ของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาประมาณ 20
ปี ที่เหลือทรงประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดรัชกาล
พระราชกรณียกิจ
1.
ด้านการปกครอง
พระราชกรณียกิจด้านการปกครองประกอบด้วยการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
อันเป็นแบบแผนซึ่งยึดสืบต่อกันมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการตราพระราชกำหนดศักดินา ซึ่งทำให้มีการแบ่งแยกสิทธิ
และหน้าที่ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป โดยทรงเห็นว่ารูปแบบการปกครองนับตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 มีความหละหลวม หัวเมืองต่าง ๆ เบียดบังภาษีอากร
และปัญหาการแข็งเมืองในบางช่วงที่พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทรงปฏิรูปการปกครองโดยมีการแบ่งงานฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันอย่างชัดเจน ให้สมุหพระกลาโหมดูแลฝ่ายทหาร
และให้สมุหนายกดูแลฝ่ายพลเรือน
รวมทั้งจตุสดมภ์ในราชธานี
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงแบ่งงานทางการปกครองออกเป็น
"ฝ่ายพลเรือน" และ "ฝ่ายทหาร" อย่างชัดเจน โดยมี
"เจ้าพระยามหาเสนาบดี" ดำรงตำแหน่ง สมุหพระกลาโหม มีหน้าที่ดูแลกิจการทหารทั่วอาณาจักร
และ "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" ดำรงตำแหน่ง สมุหนายก รับผิดชอบงานพลเรือนทั่วอาณาจักร
พร้อมกับดูแลหน่วยงานจตุสดมภ์ จากเดิมที่พื้นฐานการปกครองนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยยังไม่ได้แยกฝ่ายพลเรือนกับทหารออกจากกันชัดเจน
ทั้งนี้ ในยามสงคราม ไพร่ทุกคนจะต้องรับราชการทหารอันเป็นหน้าที่หลัก อันเป็นลักษณะรูปแบบการปกครองของอาณาจักรขนาดเล็กที่ขาดการประสานงานระหว่างเมือง
การปกครองในส่วนภูมิภาค
ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง
ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้
- หัวเมืองชั้นใน
เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง
แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์
- หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร มีการกำหนดเป็นเมืองเอก โท หรือตรี ตามลำดับความสำคัญ
เมืองใหญ่อาจมีเมืองเล็กขึ้นอยู่ด้วย
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไปปกครอง
มีการจัดการปกครองเหมือนกับราชธานี คือ มีกรมการตำแหน่งพลและกรมการตำแหน่งมหาดไทย
และพนักงานเมือง วัง คลัง นา เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวายจัดเป็น เมือง เอก โท ตรี
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด
เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี
- เมืองประเทศราช
คงให้เจ้าเมืองปกครองกันเอง เพียงแต่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามกำหนด
และเกณฑ์ผู้คนและทรัพย์สินเพื่อช่วยราชการสงคราม
สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น
ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้า
พระองค์ยังทรงแบ่งการปกครองในภูมิภาค
ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล แขวง และเมือง
2.
ตราพระราชกำหนดศักดินา
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นเป็นกฎเกณฑ์ของสังคม
ทำให้มีการแบ่งประชากรออกเป็นหลายชนชั้น เช่นเดียวกับหน้าที่และสิทธิของแต่ละบุคคล
ศักดินาเป็นความพยายามจัดระเบียบการปกครองให้มีความรัดกุมยิ่งขึ้น
อันเป็นหลักที่เรียกว่า การรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง ทั้งนี้
ถึงแม้ว่าศักดินาจะเป็นการกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดิน
แต่ในทางปฏิบัติแล้วหมายถึงจำนวนไพร่พลที่สามารถครอบครอง เกณฑ์การปรับไหม และลำดับการเข้าเฝ้าแทน
มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยา มีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ
และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย
3.
กฎมณเฑียรบาล
ในปี พ.ศ. 2001 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผน คือ
- พระตำราว่าด้วยแบบแผนพระราชพิธีต่าง
ๆ
- พระธรรมนูญว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ราชการต่าง
ๆ
- พระราชกำหนดเป็นข้อบังคับสำหรับพระราชสำนัก
4.
ด้านวรรณกรรม
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา
และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษา และวรรณคดีของไทย นอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย